ค้นหาข้อมูล
ต้อกระจกคืออะไร ต้อหินคืออะไร
3328 view
 Post Date:  2/10/13 - 9:14:am
ต้อกระจกคืออะไร  ต้อหินคืออะไร

ต้อกระจก

                สาเหตุ : เลนส์ตา (Crystalline Lens) เสื่อมสภาพส่วนใหญ่เป็นสองตาแต่ไม่เท่ากันทำให้เกิดเลนส์ตามีลักษณะขุ่น หรืออมน้ำตาลผลทำให้เกิดปัญหาตามัว ซึ่งอาการตามัวจะมากหรือน้อยขึ้นกับสภาพความเสื่อมของเลนส์ตา

                อาการ : ส่วนใหญ่ผู้ป่วยต้อกระจกมีอารการตามัวเหมือนมีหมอกบังหรือการมองเห็นลดลง ซึ่งต้อกระจกเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอดในประเทศไทยเป็นอันดับแรก แต่มีต้อกระจกส่วนน้อยอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นร่วม เช่น ต้อหิน หรือการอักเสบภายในลูกตา ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีปวดตาและตาแดงอักเสบภายในตา

                การป้องกัน : ลดปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ เช่น รักษาโรคประจำตัวให้ดี และการปฏิบัติตัวเช่น หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มสเตียรอย์ดบ่อย งดสูบบุหรี่ หรือ การใส่แว่นกันแดดที่มีคุณภาพดีที่ป้องกัน UV 100% รวมทั้งรับประทานอาหาร Antioxidant เช่นแคโรทีน ธาตุสังกะสี หรือ Omega 3

                การรักษา : เนื่องจากต้อกระจก เปรียบเสมือนเลนส์ภายในกล้องถ่ายรูปขุ่นมัว แต่ส่วนประกอบอื่นของกล้องปกติ ดังนั้นการรักษา ต้อกระจก

                                1.ไม่ผ่าตัดได้แก่ การใส่แว่นสายตาที่เหมาะสมใช้กรณีต้อกระจกไม่มาก และผู้ป่วยพอใจกับการมองเห็นดังกล่าว ซึ่งเป็นการรักษาที่ดีและปลอดภัย ส่วนยาหลอดตาหรือยารับประทาน ที่รักษาต้อกระจก ให้หายขาดในปัจจุบันยังไม่มีแต่มีเพียงชะลอไม่ให้รุนแรง

                                2.ผ่าตัดลอกต้อกระจกคือผ่าตัดเอาเลนส์ตาขุ่นออกแล้วใส่เลนส์เทียม (IOL) แทนที่เดิม ซึ่งสามารถใช้ได้ตลอดชีวิต วิธีลอกต้อกระจก มี 2 วิธี คือผ่าตัดแผลกว้างและผ่าตัดแผลเล็ก โดยใช้เครื่องสลายต้อ (Ultrasonic) ผลการรักษานี้ดี และมาตรฐาน ถ้าใส่เลนส์แก้วตาเทียมชนิดพับ ชนิด Acrylic ทำให้แผลเล็กมาก และส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องเย็บแผลจึงพักฟื้นเร็วขึ้น

                                ปกติก่อนผ่าตัดจักษุแพทย์จะตรวจประเมินสภาพตาผู้ป่วย เช่น ขยายม่านตาตรวจจอรับภาพ และประสาทตาอย่างละเอียดเพื่ออธิบายผลผ่าตัด และเลือกวิธีที่เหมาะกับผู้ป่วย หลังผ่าตัดผลการมองเห็นจะคงที่ปกติประมาณ 2-4 สัปดาห์ โดยแพทย์จะนัด 2-3 ครั้ง คือ 1 วัน 2 สัปดาห์ และ 1 เดือน หลังผ่าตัดต้อกระจก แล้วจะไม่เป็นต้อกระจกอีก แต่มีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่ง อาจมีการมองเห็นลดลงหลังผ่าตัดต้อกระจกไปช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 1 ปี ซึ่งเกิดจากถุงหุ้มเลนส์ขุ่นเกิดขึ้น โดยถ้าขุ่นมัวมาก จักษุแพทย์สามารถแก้ไขให้โดยการใช้แสงเลเซอร์โฟกัสยิงไปบริเวณถุงเลนส์มีขุ่นออก โดยไม่ต้องผ่าตัดและไม่เจ็บทำเสร็จผู้ป่วยกลับบ้านได้ทันที ผลทำให้การมองเห็นกลับมาชัดเจนเหมือนเดิม แต่ปัจจุบันเลนส์ตาเทียมได้พัฒนาวัสดุรวม ทั้งการออกแบบที่ดีมากทำให้ภาวะ ถุงหุ้มเลนส์ขุ่นเกิดขึ้นพบน้อยมาก

            

 

 

ต้อหิน

            สาเหตุ : โรคของขั้วประสาทตา โดยเซลล์ประสาทตาลดลงทำให้ขั้วประสาทตาเปลี่ยนแปลง ในลักษณะแบบต้อหิน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดจริงว่าต้อหินเกิดได้อย่างไร แต่ทราบแน่ชัดว่า ความดันตาที่สูง (IOP) จะทำให้ต้อหินรุนแรงได้ และเป็นปัจจัยเสี่ยงเดียวที่เราสามารถแก้ไขและป้องกันโรคต้อหินไม่ให้รุนแรงได้ในปัจจุบัน

            อาการ : ส่วนใหญ่โรคต้อหินเป็นโรคเรื้อรังซึ่งผู้ป่วยมักไม่ทราบในระยะแรกแต่จะทราบ เมื่อมีอาการต้อหินรุนแรงแล้วซึ่งการรักษามักได้ผล ไม่ดีเท่ากับการรักษาในระยะเริ่มแรก การตรวจสุขภาพตาจึงจะทราบโรคต้อหินในระยะแรกได้ โดยเฉพาะบุคคล อายุ 40 ปี ขึ้นไปควรตรวจสุขภาพตาทุกปี อีกกลุ่มส่วนน้อย คือต้อหินเฉียบพลัน ผู้ป่วยมีอาการปวดตารุนแรงร่วมกับตาแดงและพร่ามัวเนื่องจากความดันตาสูงมาก    

            ปัจจัยเสี่ยง : อายุมาก กรรมพันธุ์ โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือการใช้ยาหยอดตา กลุ่มสเตียรอยด์บ่อยรวมทั้ง อุบัติเหตุที่ตา และการอักเสบภายในลูกตา

                การป้องกัน : โรคต้อหินเป็นสาเหตุตาบอด อันดับ 2 ซึ่งเป็นโรคที่การรักษาในช่วงระยะรุนแรงของโรคผลการรักษาไม่ดี ดังนั้นการตรวจพบโรคระยะเริ่มแรก รวมทั้งการรักษาแบบต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งลดปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้

            การรักษา : เนื่องจากปัจจุบันเป็นสาเหตุแน่ชัด การเกิดต้อหินแต่ทราบว่าความดันตาที่สูงทำให้โรคต้อหิน การลดความดันลูกตาได้แก่ การหยอดยาต้อหินเพื่อลดการสร้าง หรือเพิ่มการระบายน้ำภายในตา (Aqueous humor) ส่วนการรักษาอื่น เช่น แสงเลเซอร์ หรือการผ่าตัดอาจใช้ร่วมกับการหยอดยา เนื่องจากโรคต้อหินเป็นโรคเรื้อรัง ดังนั้นไม่หายขาด จึงต้องได้รับการตรวจรักษา และปฏิบัติตัว ตามคำแนะนำโดยจักษุแพทย์สม่ำเสมออย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด และให้ดวงตาเรามองเห็นอยู่กับเราตลอดชีวิต