ค้นหาข้อมูล
คำนำ,ตัวอย่างคำนำ,การเขียนคำนำ
10637 view
 Post Date:  28/8/12 - 9:17:am
คำนำ,ตัวอย่างคำนำ,การเขียนคำนำ

คำนำ ตัวอย่างคำนำ การเขียนคำนำเป็นหน้าสำคัญที่แจ้งให้ผู้อ่านทราบวัตถุประสงค์ ความเป็นมาของหนังสือแนวเนื้อหาสาระที่จะมีในเล่มเหตุผลในการแต่งแรงจูงใจ ระดับของผู้อ่านการจัดลำดับของเรื่องราวตัวอักษรย่อหรือลักษณะพิเศษของหนังสือและคำกล่าวขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้แต่ง ในการอ่านหนังสือควรเริ่มจากการอ่านคำนำก่อนในหนังสือภาอังกฤษเรียกหน้านี้ว่า Prefaceหนังสือบางเล่มอาจมี คำนิยมที่เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แนะนำผู้เขียนและยกย่องหนังสือเพื่อให้ผู้อ่านสามารถพิจารณาหนังสือนั้นเป็นเบื้องต้นอย่างถูกต้องในภาษาไทยมีการเรียก หน้าคำนำหลายคำ เช่น คำปรารภคำชี้แจง หรือคำแถลงเป็นต้น ในหนังสือภาษาอังกฤษ เรียกหน้าเหล่านี้ว่า Foreword หน้าคำนำเป็นหน้าที่ผู้อ่านไม่ควรเปิดผ่านเลยไปควรอ่านอย่างละเอียดจะได้ประโยชน์ช่วยในการพิจารณาเนื้อหาได้ตรงกับความต้องการ เป็นส่วนหนึ่งของการเขียนรายงาน วิทยานิพนธ์ บทความ และอีกหลายๆอย่าง โดยคำนำนั้นก็มีหลักการในการเขียน เพื่อให้ถูกต้องตามหลักนิยมและเพื่อจะสามารถดึงดูดความสนใจแก่ผู้ที่จะอ่าน
หลักการ การเขียนคำนำ
หลักสำคัญของการเขียนคำนำ คำนำที่ดีจะทำให้คนอ่านติดตามเรื่องของเราโดยตลอดถ้าคำนำไม่ดีเขาจะหยุดอ่านแต่ตอนต้นการเขียนคำนำให้ดีนั้นต้องมีอุบายหรือวิธีการชักชวนให้ผู้อ่านอ่านเรียงความของเราให้จบ ต้องสร้างความสนใจแก่ผู้อ่านให้มากที่สุด



  • เขียนคำนำโดยการอธิบายความหมายของเรื่อง 
  • เขียนคำนำด้วยคำพังเพยหรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง 
  • เขียนคำนำด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ 
  • เขียนคำนำโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ 
  • เขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง 
  • เขียนคำนำด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน
  • เขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง 
  • เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน
  • การอ้างอิงเนื้อเรื่อง

คำนำที่ดีต้องเป็นความคิดใหม่ ความคิดแปลก หรือความคิดสนุกต้องมีลักษณะนำ หรือเชิญชวนให้ผู้อ่าน อ่านเรื่องของเราให้จบให้ได้คำนำจึงเป็นส่วนสำคัญในการเรียกร้องความสนใจของผู้อ่านตั้งแต่เริ่มต้นอ่านเรื่อง และดึงดูดใจให้อ่านเรื่องไปตลอด
และสิ่งสำคัญการอ้างอิงเนื้อเรื่อง หากมีผู้สนใจและอยากศึกษาเพิ่มเติมในเนื้อหาจะได้กลับไปตามจากแหล่งข้อมูล เป็นการบอกถึงแหล่งข้อมูลที่นำมาจากเอกสารฉบับไหนหนังสือ หรือ วารสาร และเอกสารตีพิมพ์เล่มใดเพื่อจะสะดวกในการตามศึกษาในเรื่องนั้นๆ
โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ข้อดังนี้


  1. การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง
  2. การอ้างอิงนอกเนื้อเรื่อง (การเขียนเอกสารอ้างอิง)

การอ้างอิงในเนื้อเรื่องเมื่อตรวจกับอ้างอิงนอกเนื้อเรื่องหรือการเขียนเอกสารอ้างอิง จะต้องพบ และบอกรายละเอียดครบสามารถสืบค้นและติดตามได้ โดยการเขียนอ้างอิงในเนื้อเรื่องจะมี2ลักษณะ คือ 

1. การเขียนอ้างอิงต้นประโยค
จะใช้รูปแบบชื่อ (พ.ศ. หรือ ค.ศ.  พบว่า………………)  เช่น
ชัยพิดิช (2539) พบว่า............................................................................

ธันวา (มปพ.)กล่าวว่า.........(ในกรณีไม่ทราบปีที่ตีพิมพ์).....................................
นิรนาม (2547) แนะนำว่า.........(นิรนาม แทนชื่อกรณีไม่ทราบผู้แต่ง)......................................

สำหรับชื่ออาจจะมีทั้ง 2 คน 3 คน หรือมากกว่า ถ้ามากกว่า 3 คน ให้ใช้คำว่าและคณะ (….) ในภาษาอังกฤษใช้ et al. (….) โดยจะเอียงหรือไม่ก็ได้แต่ต้องเหมือนกันหมด ส่วนชื่อภาษาอังกฤษจะใช้สกุลมาอ้างอิง เช่น O. P. Thomas. 1982. เวลาเขียนอ้างอิงต้นประโยคให้อ้างอิงว่า Thomas (1982) เป็นต้น และ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่ใช้จะต้องเป็นปีที่ตีพิมพ์ส่วนประโยคต่อปีที่ตีพิมพ์ อาจใช้คำว่า พบว่า……, รายงานว่า……, กล่าวว่า…….., แสดงให้เห็นว่า………หรืออื่นๆการอ้างแบบนี้รวมถึงข้อมูลจากเว็ปไซด์ด้วย
ตัวอย่าง 
สินชัย และนวลจันทร์ (2530) รายงานว่า.................................................................
สาโรช และคณะ (2521) อธิบายว่า........................................................................
อุทัย และคณะ (2533 ข) ; สาโรช และเยาวมาลย์ (2528) ศึกษาพบว่า...............................

Thunwa (eds.) กล่าวว่า………………..(ในกรณีไม่ทราบปีที่ตีพิมพ์).....................................

Anonymous (2004) แนะนำว่า……………(กรณีไม่ทราบผู้แต่งชาวต่างประเทศ)………………. 

Fox and Vevers (1960) เสนอว่า...................................................................... 

Banday et al. (1992) เสนอแนะว่า......................................................................

Coon (1971) แสดงให้เห็นว่า...........................................................................

Coon (1971) ; Fox and Vevers (1960) ; Banday et al. (1992) ได้ศึกษาเปรียบ เทียบพบว่า..........................
หมายเหตุ : อุทัย และคณะ (2533 ข) คือ กรณี ชื่อ และ พ.ศ. ทั้งไทย และอังกฤษซ้ำจึงใช้อักษรกำกับรวมถึงการเขียนอ้างอิงนอกเนื้อหาด้วย 


2. การเขียนอ้างอิงท้ายประโยค

โดยใช้รูปแบบ(ชื่อ, พ.ศ. หรือ ค.ศ.)
โดยจะมีลักษณะการเขียนชื่อและพ.ศ. คล้ายการเขียนอ้างอิงต้นประโยค 

ตัวอย่าง

………………………………………………(ธันวา, มปพ.) กรณีไม่ทราบปีที่ตีพิมพ์ 

………………………………………………(นิรนาม, 2547) กรณีไม่ทราบผู้แต่ง 

………………………………………………(สุกัญญา, 2539) 

………………………………………………(สินชัย และนวลจันทร์, 2530) 

………………………………………………(สาโรช และคณะ, 2521) 

……………………………(อุทัย และคณะ, 2533 ข ; สาโรช และเยาวมาลย์, 2528) 

……………………………(Thunwa, eds.) กรณีไม่ทราบปีที่ตีพิมพ์ 

……………………………(Anonymous, 2004) กรณีไม่ทราบผู้แต่งชาวต่างประเทศ 

……………………………(Fox and Vevers, 1960) 

……………………………(Banday et al., 1992) 

……………………………(Coon, 1971) 

……………………(Coon, 1971 ; Fox and Vevers, 1960 ; Banday et al., 1992) 

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงท้ายประโยค 
การเขียนอ้างอิงแบบเชื่อมต่อ โดยใช้รูปแบบ......................สอดคล้อง กับ ชื่อ (พ.ศ. หรือ ค.ศ.) หรือ ขัดแย้งกับ ชื่อ (พ.ศ. หรือ ค.ศ.)การเขียนอ้างอิงแบบเชื่อมต่อนี้ เป็นการผสมการเขียนอ้างอิงต้นประโยคและการเขียนอ้างอิงท้ายประโยค โดยรูปแบบการเชื่อมประโยคจะคล้ายกับรูปแบบการเขียนอ้างอิง ทั้ง ชื่อ และ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่ตีพิมพ์
ตัวอย่าง
สุกัญญา (2539) พบว่า…………………….สอดคล้องกับรายงานของ Fox and vevers (1960) ที่เสนอว่า…………………………………………… แต่ขัดแข้งกับ Banday et al. (1992) โดยอธิบายว่า……………………………………………………………………………………………………………………………. 

จากการศึกษาปัญหาดังกล่าว………………………………………………(Coon, 1971 ; Fox and Vevers, 1960 ; Bandan et al., 1992) 



สิ่งสำคัญที่ควรเลี่ยงไม่ควรนำมามาเขียนในคำนำคือ


  1. อย่าขึ้นคำนำด้วยคำบอกเล่าอันเกินควร 
  2. อย่าเอาประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันดีอยู่แล้วมาเป็นคำนำ
  3. อย่าอธิบายฟุ้งซ่านจนไม่มีจุดหมายของเรื่อง


ตัวอย่างคำนำ


คำนำ
          รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ท ๕๐๔ ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่องลิลิตะเลงพ่าย  ซึ่งรายงานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้จากตำราพิชัยสงคราม การจัดทัพ การตั้งทัพ การเคลื่อนทัพกลศึกต่าง ๆ โหราศาสตร์ในการทำสงคราม ตลอดจนการประยุกต์ใช้ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอันแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในการรบของพระองค์เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจรวมถึงเป็นการเทิดพระเกียรติวีรกษัตริย์ไทย และ ความฉลาดของบรรพบุรุษผู้จัดทำจะต้องขอขอบคุณ อ.พิทักษ์ อาจริยวัฒนกุล ผู้ให้ความรู้และแนวทางการศึกษา  เพื่อน ๆ ทุกคนที่ให้ ความช่วยเหลือมาโดยตลอดผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆท่าน
 นายชัยพิดิช  ขจรไกลไพศาล


ตัวอย่างคำนำ 2


คำนำ
         ศิลปะการบริหารเวลาเป็นการเสนอแนวคิดใหม่ในการจัดการกับเวลาเพื่อให้ได้งานมากอย่างมีประสิทธิภาพแต่ใช้เวลาจะได้เวลาอย่างพอเหมาะหรือน้อยกว่าแน่นอนคนเราทุกคนย่อมมีเวลาวันละ24ชั่วโมงเท่ากันหมดแต่สำหรับผู้ที่มีศิลปะในการบริหารเวลาจะได้งานที่มีประสิทธิภาพมากกว่ามีเวลาคิดสิ่งใหม่มากกว่ามีเวลาพักผ่อนมากกว่าและมีเวลาเป็นของตนเองมากกว่าคนที่ยังไม่รู้วิธีที่จะจัดการกับเวลาของตนเอง

        สาเหตุที่เลือกอ่านเรื่องนี้เพราะว่าสามารถนำข้อคิดที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้จะทำให้เราใช้เวลาที่เรามีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า สอดคล้องกับภาิษิตที่ว่า  Time and tide wait for no man สายน้ำไม่คอยท่าวันเวลาไม่คอยใคร
น.ส.ศิริประภา พัฒผล

ที่มา.http://www.rakjung.com/thai-no69.html