ค้นหาข้อมูล
บทที่5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ
18096 view
 Post Date:  22/8/12 - 4:30:pm
บทที่5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ

 

บทที่ 5
 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ

                การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลื่อกซื้อบ้านของพนักงานในเขตนิคมอุตสาหรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ผู้วิจัย ได้สรุปผลการวิจัยดังนี้

สรุปผลการวิจัย

            จากการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยขอสรุปผลการวิจัยดังต่อไปนี้

ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับ เพศ อายุ รายได้ ผู้ให้บริการจำนวน 100 ชุด ผลการวิจัยพบว่าเป็นดังนี้

1.       เพศ : ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกชื้อบ้าน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 65 และเพศชายคิดเป็นร้อยละ 35

2.       อายุ : ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อบ้าน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ 26-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 31 รองลงมามีอายุ 40 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 29  อันดับที่ 3 เป็นผู้มีอายุ 31-35 ปีคิดเป็นร้อยละ 22 และที่น้อยที่สุดคืออายุ 36-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 18

3.       รายได้ : ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อบ้าน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำกว่า20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 58 รองลงมามีรายได้ระหว่าง  20,000 – 25,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 22 อันดับ 3 มีรายได้ระหว่าง 25,001 – 30,000  บาท คิดเป็นร้อยละ 12  และมีรายได้ มากกว่า 30,001 บาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 8

 

 

 

ตอนที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อบ้านของพนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปาการ โดยเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยทั้ง 4 ด้าน คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อบ้านในแต่ละด้านดังนี้

1. รวมความพึงพอใจของ 2.2 ปัจจัยด้านราคา เท่านั้น เฉลี่ยประมาณ 4.06 อยู่ในระดับมาก

2. รวมความพึงพอใจของ 2.1 ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ท่านั้น เฉลี่ยประมาณ 3.87 อยู่ในระดับมาก

3. รวมความพึงพอใจของ 2.4 ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดเท่านั้น เฉลี่ยประมาณ 3.75 อยู่ในระดับมาก

4. รวมความพึงพอใจของ 2.3 ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายเท่านั้น เฉลี่ยประมาณ 3.60 อยู่ในระดับมาก

   ระดับความพึงพอใจปัจจัยด้านราคาคะแนนเฉลี่ย 4.06  ซึ่งจะให้ความสนใจในเรื่องราคาบ้านมีความเหมาะสมกับประเภทบ้านและสิ่งอำนวยความสะดวกคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.22 รองลงมาจะเป็นจำนวนเงินจอง/ดาวน์ หรืออัตราเงินกู้ของธนาคาโดยพบว่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.13    อันดับที่ 2. ได้แก่ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.870  โดยผู้ที่ตัดสินใจซื้อบ้านส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมโดยรวมของบ้าน รองลงมาเป็นเรื่องการคมนาคม สาธารูปโภค ที่จอดรถภายในบ้าน รูปแบบบ้าน สภาพชุมชนรอบหมู่บ้าน เพื่อนบ้าน   อันดับที่3. ได้แก่ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.75  โดยผู้ซื้อส่วนใหญ่ต้องการให้มีการจัดรายการพิเศษส่งเสริมการขาย รองลงมาเป็นสื่อโฆษณาต่างๆ   อันดับที่4. เป็นปัจจัยทางด้านช่องทางการจัดจำหน่าย โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.60   โดยผู้ตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่ต้องการให้มีที่จอดรถในการมาติดต่อโครงการให้สะดวกและปลอดภัย ตลอดจนต้องการให้เจ้าของโครงการจัดทำช่องทางในการจำหน่ายที่หลายหลาย

 

 

 

 

 

การอภิปรายผล

  จากผลการวิจัย “ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อบ้านของพนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ” สามารถอภิปรายผลการวิจัยได้ดังนี้

1.       การวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อบ้านของพนักงานในเขตอุตสาหกรรมบางปู พบว่าส่วนมากให้ความสำคัญให้ความสำคัญในเรื่องราคาบ้าน แต่ไม่ทราบว่าช่วงราคาที่ต้องการซื้ออยู่ในช่วงราคาประมาณเท่าไหร่ถึงจะพอใจและสามารถซื้อได้

2.       พบว่าผู้ตัดสินใจซื้อบ้านซึ่งเป็นพนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปูจะให้ความสำคัญในปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์โดยส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมโดยรวมของบ้านหรือหมู่บ้าน ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเป็นพนักงานที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมบางปู ซึ่งก็ทราบกันดีว่าเขตนี้เป็นเขตอุตสาหกรรมฉะนั้นผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากจะให้ความสำคัญด้านนี้มาก  แต่ถ้าเป็นเขตอื่นๆ อาจจะให้ความสำคัญด้านนี้แตกต่างกันหรือน้อยลง

 

 ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

  จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะเพื่อทำการวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้

ควรเพิ่มความละเอียดในเรื่องปัจจัยด้านราคาให้มีความละเอียดและชัดเจน เพื่อจะได้ทราบราคาบ้านหรือความต้องการของผู้ซื้อว่าราคาประมาณเท่าไหรที่จะสามารถตัดสินใจซื้อได้    และอาจจะให้ผู้ตอบแบบสอบถามเพิ่มเติมหรือเสนอแนะความคิดเห็นเข้าไปในแบบสอบถามได้เพื่อจะได้นำข้อมูลมาปรับใช้ในการออกแบบสอบถามครั้งต่อไป