ค้นหาข้อมูล
หมู่โลหิตระบบเอบีโอ
1661 view
 Post Date:  2011-06-18 02:38:39

หมู่โลหิตของคนเราสามารถจำแนกได้มากมายหลายระบบ หมู่โลหิตที่สำคัญที่มนุษย์ทุกคนควรทราบคือ หมู่โลหิตระบบเอบีโอ และระบบอาร์เอช

หมู่โลหิตระบบเอบีโอ ได้ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1900 โดยคาร์ล แลนด์สไตเนอร์ เป็นผู้สังเกตพบว่าเม็ดโลหิตแดงของผู้ร่วมงานทำปฏิกิริยากับน้ำเหลืองอีกคนหนึ่ง เขาจึงได้ทดลองเจาะโลหิตของผู้ร่วมงานจำนวน 6 คน แล้วนำมาแยกเม็ดโลหิตแดงและน้ำเหลืองของแต่ละคนมาทำปฏิกิริยาสลับกันไปมา ปรากฏว่าบางคู่เกิดปฏิกิริยาจับกลุ่ม จากปรากฏการณ์นี้ ต่อมาในปี ค.ศ.1901 แลนด์สไตเนอร์ จึงสรุปผลการทดลองค้นคว้าว่าโลหิตแบ่งออกเป็น 3 หมู่ คือ หมู่เอ หมู่บี และหมู่โอ สำหรับหมู่ที่ 4 คือหมู่เอบี พบโดย วอน เดอ คาสติโล และสเตอลิ ในปี ค.ศ.1902

การจำแนกโลหิตระบบเอบีโอ จะมีสารโปรตีนเป็นตัวจำแนกหมู่โลหิต คือ สารโปรตีนเอ และสารโปรตีนบี กล่าวคือหมู่โลหิตเอจะมีโปรตีนเอ ฉาบอยู่ที่ผิวเม็ดโลหิตแดง และมีแอนตี้บอดี้บีอยู่ที่น้ำเหลือง หมู่โลหิตบีจะมีสารโปรตีนบี ฉาบอยู่ที่ผิวเม็ดโลหิตแดง และมีแอนตี้บอดี้เออยู่ในน้ำเหลืองหมู่โลหิตเอบี จะมีสารโปรตีนเอและสารโปรตีนบี ฉาบอยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดงและจะไม่มีแอนตี้บอดี้เอและแอนตี้บอดี้บีอยู่ในน้ำเหลือง หมู่โลหิตโอจะมีสารโปรตีนเอ และสารโปรตีนบีฉาบอยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดง แต่จะมีแอนตี้บอดี้เอและแอนตี้บอดี้บีอยู่ในน้ำเหลือง

นอกจากนี้หมู่โลหิตระบบเอบีโอ ยังสามารถใช้เป็นวิธีดูการถ่ายทอดทางสายโลหิตของพ่อ แม่ และลูกได้อีกด้วย

ในปัจจุบันทุกท่านควรทราบว่าตนเองมีหมู่โลหิตใด เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองในยามฉุกเฉิน เมื่อจะต้องรับหรือบริจาคโลหิต นอกจากนี้เมื่อเข้าทำงานที่ใดก็ตามที่บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ พนักงาน จะต้องบอกว่าผู้นั้นมีหมู่โลหิตอะไรอีกด้วย สำหรับผู้ที่บริจาคโลหิต ท่านสามารถทราบว่าท่านมีหมู่โลหิตอะไร เพียงดูที่บัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิตเท่านั้น คือ ผู้ที่มีหมู่โลหิตเอ จะมีบัตรสีเหลือง ผู้ที่มีหมู่โลหิตบี มีบัตรสีชมพู ผู้ที่มีบัตรสีฟ้า แสดงว่ามีหมู่โลหิตโอ และสำหรับผู้มีโลหิตเอบี บัตรจะเป็นสีขาว

การถ่ายทอดหมู่โลหิต ABO ของพ่อ แม่ ลูก ที่เป็นไปได้


หมู่โลหิตพ่อ

หมู่โลหิตแม่

หมู่โลหิตของลูกที่อาจจะเป็นไปได้

O

O

O

O

A

O หรือ A

O

B

O หรือ B

O

AB

A หรือ B หรือ O

A

A

A หรือ O

A

B

O หรือ A หรือ B หรือ AB

B

B

B หรือ O

B

AB

A หรือ B หรือ AB

AB

AB

A หรือ B หรือ AB

 

 

ที่มา : หนังสือความรู้คู่การบริจาคโลหิต
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย