ค้นหาข้อมูล
ทำไมต้องมีการบริจาคโลหิต
2261 view
 Post Date:  2011-06-18 02:35:53

ทุกชีวิตเกิดมาด้วยโลหิต มีชีวิตอยู่ได้ด้วยโลหิต ทุกวันนี้ยังไม่มีผู้ใดสามารถคิดค้น ประดิษฐ์สิ่งใดมาใช้แทนโลหิตได้อย่างสมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องให้มีการบริจาคโลหิต เพื่อนำไปช่วยชีวิตเพื่อมนุษย์ด้วยกันเพียงอย่างเดียว เชื่อว่าทุกชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ คงไม่มีผู้ใดปรารถนาที่จะพลัดพรากจากสิ่งที่ตนรักในเวลาที่ยังไม่สมควร ถ้าพ่อ แม่ ลูก หรือญาติมิตรประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยด้วยโรคที่ต้องการใช้โลหิต หากไม่มีผู้บริจาคโลหิตช่วยเหลือ และเขาต้องตายจากไปเพราะขาดโลหิต เราจะรู้สึกอย่างไร เปรียบได้กับเทียนไขที่ยังมีไขและไส้เทียนอยู่ บังเอิญมีลมพัดมาโดยแรง ทำให้เทียนเล่มนั้นดับวูบลงขณะเดียวกันถ้าใครช่วยจุดไม่ขีดไฟขึ้นใหม่ เทียมเล่มนั้นจะสว่างไสวต่อไปอีกจนกว่าจะหมดไขและไส้เทียนก็จะดับไปเอง ถ้าจะเปรียบคนจุดไม้ขีดไฟ คือผู้มีจิตศรัทธาบริจาคโลหิตในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ซึ่งยังไม่ถึงคราวจะต้องตายให้เขาได้หายจากการเจ็บป่วย ได้มีชีวิตกลับไป เป็นความอบอุ่น เป็นความหวังของครอบครัวต่อไปได้ถือว่าเป็นทานบารมีสูงสุด

การบริจาคโลหิต เป็นสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเลย เพราะในร่างกายของแต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตเทียบได้ง่ายๆ คือ 17 18 แก้วน้ำ ซึ่งร่างกายใช้เพียง 15 16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้ เมื่อบริจาคโลหิตออกไป ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทนให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม ถ้าไม่ได้บริจาคโลหิตออกมา ร่างกายจะขจัดเม็ดโลหิตที่สลายตัวโดยระบบทำลายของร่างกายเอง

ท่านสามาบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือน ทั้งชายและหญิง คุณสมบัติของผู้ที่สามารถบริจาคโลหิตได้คือ อายุ 17 70 ปี น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป โลหิตมีความเข้มข้นเพียงพอ ความดันโลหิตปกติ ไม่มีประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ โรคไต โรคเอดส์ ไวรัสตับอักเสบหรือดีซ่าน และโรคติดต่ออื่นๆ สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคมาเลเรีย จะต้องหายจากโรคนี้เกินกว่า 3 ปี จึงจะบริจาคโลหิตได้ หลังจากบริจาคโลหิตแล้วไม่ควรบำรุงร่างกายมากเกินความจำเป็นโดยคิดว่าเมื่อเสียโลหิตไปแล้วต้องบำรุงมากๆ ทั้งนี้เพราะจะทำให้อ้วนได้ง่าย ควรรับประทานอาหารตามปกติเท่านั้น

 

ที่มา : หนังสือความรู้คู่การบริจาคโลหิต
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
TRC.BL-TMR09-08-0001