ค้นหาข้อมูล
ประเพณีลอยโคม
3335 view
 Post Date:  2011-05-20 04:25:47

ประเพณีลอยโคม

         โคม หมายถึง ประทีปเครื่องสำหรับจุดไฟในนั้นให้แสงสว่าง หรือ เครื่องตามไฟมีที่บังลมที่ใช้หิ้วและแขวน       

         งานประเพณีลอยโคม เป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวล้านนา ในจังหวัดเชียงใหม่ ๙งจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 12 การลอยโคมของชาวล้านนานี้ไม่ใช่การลอยโคมตามสายน้ำ หรือลอยกระทง แต่เป็นการลอยโคมที่ปล่อยขึ้นไปในอากาศ โดยโคมจะทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่ซึ่งก็จะมีสีสันสวยงาม แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อที่จะให้ไอร้อนเป็นตัวพาโคมลอยขึ้นสู่อากาศชาวล้านนามีความเชื่อว่าการจุดโคมลอยและปล่อยขึ้นไปในอากาศเป็นการปลดปล่อยความทุกข์โศกและเรื่องร้ายๆ ให้พ้นตัวและลอยไปกับอากาศ

         ชาวล้านนาได้กล่าวว่า ในวันเพ็ญเดือนสิบสองนอกจากจะมีการตั้งธัมม์หลวงแล้วคนที่เกิดในปีจอจะต้องไปนมัสการพระธาตุแก้วจุฬามณีซึ่งเป็นที่บรรจุมวยผมของเจ้าชายสิทธัตถะที่ตัดออกก่อนดำรงเพศนักบวช แต่เจดีย์นี้อยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ดังนั้นชาวล้านนาที่เกิดในปีจอจึงใช้โคมลอยเป็นเครื่องบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี โดยปล่อยไปให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้

         ในวันงานประเพณีลอยโคม จะมีการจุดโคมและปล่อยขึ้นบนท้องฟ้าทำให้ท้องฟ้าในยามค่ำคืนสว่างไสวไปด้วยแสงจากโคมลอยซึ่งมีความสวยงามและประเพณีนี้ได้กลายเป็นที่รู้จักของชาวไทยและชาวต่างชาติก็ให้ความสนใจในเอกลักษณ์ของประเพณีลอยโคมเป็นอย่างมาก