ค้นหาข้อมูล
ประเพณีแห่ปลา
1683 view
 Post Date:  2011-05-20 04:22:59

ประเพณีแห่ปลา

         ประเพณีแห่ปลา เป็นประเพณีของชาวมอญที่อำเภอพระประแดงซึ่งจะจัดในช่วงหลังสงกรานต์ประมาณ 1 สัปดาห์ ความเป็นมาของประเพณีมาจากตำนานมอญที่ว่าพระอาจารย์องค์หนึ่งได้ตรวจดูดวงชะตาของลูกศิษย์คนหนึ่ง ปรากฏว่าสามเณรองค์นั้นมีเกณฑ์ชะตาขาด พระอาจารย์ไม่สามารถช่วยเหลือได้ จึงอนุญาตให้สมาเณรกลับบ้านไปเยี่ยมญาติโยมระหว่างทางกลับบ้านสามเณรพบปลาตัวหนึ่งในหนองน้ำที่แห้งขอด นอนรอความตาย สามเณรจึงจับปลาตัวนั้นไปปล่อยในลำคลอง แล้วเดินทางต่อไปจนเมื่อถึงเวลาอันควร สามเณรก็เดินทางกลับวัด จึงทำให้พระอาจารย์แปลกใจเป็นอย่างมาก จึงสอบถามและได้ความตามที่สามเณรช่วยเหลือปลาให้มีชีวิตรอด ก็ช่วยส่งผลบุญให้สามเณรมีชีวิตยืนยาวต่อไปอีกได้จากตำนานดังกล่าวนี้ทำให้ชาวรามัญยึดถือปฏิบัติกันมาตลอดและกลายเป็นประเพณีแห่ปลาก็เนื่องมาจากชาวมอญผู้หนึ่งชื่อคุณย่าพวง พงษ์เวช เป็นผู้ชอบทำบุญ จึงทำให้ลูกชายจัดงานทำบุญเลี้ยงพระแล้วปล่อยปลาเป็นจำนวนมาก ต่อมาได้กลายเป็นว่าจะมีการเชิญสาวๆ ในหมู่บ้านมาร่วมขบวนโดยถือโหลปลา และในปีต่อๆมาก็ได้เชิญสาวจากหมู่บ้านมอญ 14 หมู่บ้าน มาร่วมในขบวน และมีการแต่งกายตามประเพณีของแต่ละหมู่บ้านอย่างสวยงาม ขบวนกลองยาวสร้างความครึกครื้น ต่อมาในปี พ.ศ.2498 มีขบวนนางสงกรานต์เพิ่มขึ้น จนกระทั่งในปี พ.ศ.2521 ได้จัดให้มีการประกวด นางสาวสงกรานต์พระประแดงขึ้นจนถึงปัจจุบัน